โพสต์แนะนำ

ภูมิศาสตร์เมือง Urban Geography

ภูมิศาสตร์เมืองเป็นสาขาย่อยหนึ่งในภูมิศาสตร์มนุษย์(Human Geography) มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับเมือง(ci...

บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

ภูมิศาสตร์เมือง Urban Geography


ภูมิศาสตร์เมืองเป็นสาขาย่อยหนึ่งในภูมิศาสตร์มนุษย์(Human Geography) มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับเมือง(cities) นักภูมิศาสตร์ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่อง "เมือง" มีบทบาทที่สำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับ ทำเลที่ตั้ง และ กระบวนการทางพื้นที่ที่ก่อให้เกิดเป็นเมืองในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เพื่อให้สามารถหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว นักภูมิศาสตร์เมืองจึงจำเป็นต้องศึกษาทั้งเรื่องของ สถานที่ตั้งของเมือง วิวัฒนาการและการเจริญเติบโตของเมือง ศึกษาเพื่อจำแนกฟังค์ชั่นของหน่วยย่อยต่างภายในเมือง เช่น หมู่บ้านขนาดเล็ก หมู่บ้านขนาดใหญ่ เมืองขนาดเล็ก เมืองขนาดใหญ่ ฯลฯ ในขณะเดียวกันก็จำเป็นจะต้องพิจารณาความสัมพันธ์ของหน่วยต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ด้วย นอกจากนี้สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาเช่นกันก็คือ ลักษณะทางเศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์ รวมทั้งประเด็นทางด้านสังคมซึ่งล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลโดยตรงต่อความเหมือนหรือความแตกต่างของเมืองในแต่ละที่

ภาพประกอบ เป็น แผนที่แสดงถึงการสะท้อนแสงสว่างยามค่ำคืนของเมืองต่างๆ (พื้นที่สีขาว คือ พื้นที่เมือง)

การทำความเข้าใจในแง่มุมต่างๆของภูมิศาสตร์เมืองอย่างถ่องแท้นั้นจำเป็นจะต้องตะหนักว่าภูมิศาสตร์เมือง(รวมทั้งภูมิศาสตร์แขนงอื่นๆ) ไม่ได้ถูกจำแนกแยกแยะออกจากภูมิศาสตร์สาขาอื่นอย่างแท้จริง แต่กลับเป็นการผสมผสานกันของภูมิศาสตร์ในหลายสาขา ตัวอย่างเช่น ภูมิศาสตร์กายภาพจำถูกนำมาพิจารณาเมืองในฐานะของปัจจัยเงื่อนไขที่กำหนดว่าเมืองจะสามารถตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศหรือสภาพภูมิอากาศนั้นๆ ได้หรือไม่ สภาพภูมิประเทศที่สูงชันย่อมยากต่อการตั้งถิ่นฐานหรือการอยู่อาศัยของมนุษย์ดังนั้นชุมชนที่อาศัยในสภาพแวดล้อมดังกล่าวจึงไม่สามารถพัฒนาหรือเจริญเตอบโตเป็นเมืองขนาดใหญ่ได้ เป็นต้น อีกตัวอย่างหนึ่งของการรวมกันของภูมิศาสตร์เมืองกับสาขาอื่นคือ การมองเมืองในสาขาภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ ที่ช่วยให้มองเห็นภาพของกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทต่างๆ ในเขตเมือง ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การค้า การบริการ อุตสาหกรรม ฯลฯ ล้วนแต่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเมือง

ในฐานะที่กระผมมีโอกาสได้มาเรียนที่เชียงใหม่จึงจะขอเล่าถึงประสบการณ์บางอย่างที่เกี่ยวกับเมืองในภาคเหนือ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมต้องกล่าวถึงเมืองเชียงใหม่ และเพื่อให้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของบทความจึงจะกล่าวถึง ความปฎิสัมพันธ์ของเมืองเชียงใหม่ กับ เมืองลำพูน และบทบาทของอุตสากรรม เมืองเชียงใหม่กับเมืองลำพูนอยู่ไม่ห่างกันมากครับขับรถเพียงแค่ยี่สิบหรือสามสิบนาทีถึงแล้วดังนั้นคนที่บ้านอยู่ลำพูนก็สามารถเข้ามาทำงานที่เชียงใหม่ได้ ในขณะที่ คนที่ทำงานที่ลำพูน โดยเฉพาะที่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ (อยู่ใกล้เมืองลำพูน) สามารถขับรถจากบ้านที่เชียงใหม่ได้อย่างสะดวก มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวนมากที่จบการศึกษาแล้วเข้าไปทำงานในนิคมอุตสาหกรรมที่ลำพูน นักเรียนที่จบมัธยมจากโรงเรียนในลำพูนก็เข้ามาเรียนระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีอยู่หลายแห่งในเชียงใหม่ เช่น ม. เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ ม. พายัพ ม. ราชภัฏเชียงใหม่ เป็นต้น จากตัวอย่างที่กล่าวมา จะเริ่มเห็นว่า เมืองเชียงใหม่ กับ ลำพูน มีปฏิสัมพันธ์กัน หรือกล่าวได้ว่ามีการติดต่อกันและกัน หรือ อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ สินค้าที่ผลิตบางส่วนจากนิคมที่ลำพูนจะถูกขนส่งมายังสนามบินเชียงใหม่เพื่อส่งไปยังลูกค้า หรือ ถูกส่งไปขายยังเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่มีประชากรเกินกว่าหนึ่งล้านคนและเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศมากมายในแต่ละปี ดังนั้น จะเห็นได้ว่าเมืองทั้งสองมีลักษณะที่เกื้อกูลหรือเสริมต่อกันและกัน (contributions between the cities) คือ ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน

ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับภูมิศาสตร์เมืองลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ต่าง หรือ หาได้จากหนังสือเกี่ยวกับภูมิศาสตร์เมือง ซึ่งมีนักภูมิศาสตร์ทั้งในไทยและต่างประเทศเขียนได้มากมาย

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Normative Model in Agricultural land Use



นักภูมิศาสตร์ทั้งในอดีตและปัจจุบันได้พยายามที่จะอธิบายถึงรูปแบบทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น ที่ตั้งของกิจกรรมร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางการเกษตร จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษา คือ การทำความเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลควบคุมลักษณะของการใช้ที่ดินทางการเกษตร ซึ่งประกออบไปด้วย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ กายภาพ สังคม-วัฒนธรรม ฯลฯ ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้ริเริ่มในการค้นหาคำตอบข้างต้นคือ Von Thunen (1783-1850) นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งของกิจกรรมการเกษตรในฟาร์มของเขาเองในเขตเมือง Rostock ทางตอนเหนือของเยอรมัน และพบว่า ทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางการเกษตรจะแตกต่างไปตามระยะทางห่างออกจากตลาดและความเข้มของการใช้ที่ดินจะลดลงตามระยะทางห่างออกไปจากตลาด (รูป)



จากรูปเป็นโมเดลเชิงกำหนด (normative model) ที่ Von Thunen ได้เสนอไว้ ซึ่งจะเห็นว่าขอบเขตของการใช้ที่ดินแต่ละประเภทจะมีลักษณะเป็นรูปวงกลมซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยชั้นในสุดที่ติดกับตลาดจะเป็นเขตการใช้ที่ดินที่มีความเข้มที่สุดเช่น การปลูกผักผลไม้ เลี้ยงโคนม ค่าขนส่งสินค้าเหล่านี้ค่อนข้างสูงจึงทำให้จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้กับตลาด นอกจากนี้ยังมีลักษณะเน่าเสียได้ง่าย (น้ำนม) จึงจำเป็นจะต้องขนส่งไปยังตลาดให้รวดเร็วที่สุด ถัดออกมาจากเขตแรก การใช้ที่ดินจะมีความเข้มลดลงเรื่อยๆ บางพื้นที่สามารถทำพืชหมุนเวียนและสามารถปล่อยที่ดินพักฟื้นได้หลายปี เช่น การปลูกธัญพืชประเภทข้าวต่างๆ นอกจากนี้ในเขตที่อยู่ห่างไกลจากตลาดมากๆ มีการเลี้ยงโคนมแต่ผลผลิตจำเป็นต้องมีการแปรรูปให้อยู่ในรูปที่เน่าเสียได้ยากกว่านมสด เช่น เนยเหลว เนยแข็ง ทำให้ไม่จำเป็นต้องรีบขนส่งไปยังตลาด นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังมีมูลค่าสูงขึ้นทำให้สามารถทดแทนค่าขนส่งที่แพงเนื่องจากอยู่ไกล ได้

อย่างไรก้อตาม จะเห็นว่าโมเดลการใช้ที่ดินนี้ดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ทั้งนี้เนื่องจาก เป็นโมเดลที่อยู่ภายข้อกำหนดเบื้องต้นหลายประการ เช่น ให้สมมติว่าเมืองดังกล่าวเป็นเมืองเดี่ยวที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากเมืองภายนอก สมมติว่าภูมิประเทศราบเรียบเหมือนกันทั้งหมดและ สภาพของดินและอากาศเหมือนกันทั้งหมด เป็นต้น จากข้อสมมติเหล่านี้ดูเหมือนว่าไม่สามารถเป็นไปได้ในปัจจุบันซึ่ง ลักษณะภูมิประเทศมีความแตกต่างกัน มีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างเมืองรอบข้าง มีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่หลากหลายและทันสมัย ดังนั้น จึงมีผู้วิพากษ์วิจารณ์แนวคิดของของว่ามีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง นอกจากนี้พบว่ามีนักภูมิศาสตร์หลายท่านได้มีการทดสอบโมเดลของเขากับการใช้ที่ดินการเกษตรในสภาพพื้นที่จริงและได้พัฒนาโมเดลให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันมากขึ้น

แม้ว่าจะดูล้าหลังไป แ่ต่แนวคิดของเขาก็ได้เป็นแบบอย่างในการพยามยามอธิบายรูปแบบทำเลที่ตั้งทางการเกษตรที่ได้รับอิทธิพลจากค่าขนส่งและระยะทางจากตลาด นักศึกษาวิชาภูมิศาสตร์เศรษฐกิจและภูมิศาสตร์การเกษตรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเรื่องราวของเขาเพื่อทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งกิจกรรมการเกษตร

หมายเหตุ
การศึกษาทำเลที่ตั้งทางการเกษตรสามารถศึกษาโดยใช้แม่แบบการศึกษาอื่น เช่น โมเดลเชิงพฤติกรรม โมเดลการแพร่กระจาย เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552

Climate of India: สภาพภูมิอากาศของอินเดีย


เนื่องด้วยตำแหน่งที่ตั้งและขนาดของประเทศที่ค่อนข้างใหญ่ ทำให้อินเดียมีลักษณะอากาศที่หลากหลายและแตกต่างกันไปตามพื้นที่(ดูจากแผนที่เขตภูมิอากาศ) ก่อนอื่น เราจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกับทำเลที่ตั้งของประเทศอินเดียเสียก่อน อินเดียตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 8°4' ถึง 37°6' เหนือ และ ลองจิจูด 68° 7' and 97° 25' ตะวันออก จากตำแหน่งนี้ทำให้อินเดียทอดตัวยาวจากเหนือจดเหนือ จากเขตใกล้เส้นศูนย์สูตร (Equator) ผ่านเส้นรุ้งที่ 23.5 องศา หรือเส้น Tropic of Cancer ไปจนถึงเหนือสุดที่เส้นรุ้งที่ 37
สภาพอากาศจากเหนือจรดใต้จึงค่อนข้างแตกต่างกันอย่างมาก

นอกจากทำเลที่ตั้งแล้วความใกล้ไกลทะเลและลมมรสุมที่พัดผ่านก็เป็นอีกปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดลักษณะอากาศของอินเดีย เขตที่อยู่ห่างไกลจากทะเลจะมีสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้ง โดยเฉพาะด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซึ่งเป็นเขตทะเลทราย (ทะเลทราย Thar) ในขณะเดียวกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านรับลมจะมีฝนตกชุกมากในฤดูมรสุม โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียที่เป็นด้านรับลมมรสุมที่พัดมากจากทะเลอาราเบียน ตัวอย่างเช่น เมืองมุมไบ ที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมถึง 868 มิลลิเมตร โดยฝนจะตกลากยาวมาตั้งแต่เดือนมิถุนาไปจนถึงกันยายน

อีกหนึ่งตัวแปรที่สำคัญที่กำหนดลักษณะอากาศของอินเดียคือ เทือกเขาหิมาลัย ที่ทอดตัวอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นตัวขวางกั้นความหนาวเย็นจากเอเชียกลางตอนใน ทำให้อินเดียอบอุ่นกว่าพื้นที่อื่นๆที่อยู่ในแนวละติจูดเดียวกัน และเทือกเขาหิมาลัยนี่เองที่ทำให้คนที่มาเที่ยวอินเดียสามารถมาดูหิมะตกได้ในฤดูหนาวและพบกับภูมิทัศน์ที่สวยงามแบบสุดๆ เมืองที่นักท่องเที่ยวชอบไปก็อย่างเช่น Shimla, Dharamsala เป็นต้น

ผู้ที่สนใจจะไปเที่ยวอินเดียและอยากรู้เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศของอินเดียสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก climate of India และ World Weather Information Service

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552

Incredible India


อินเดียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ใครหลายคนอยากไปเยือนให้ได้ซักครั้งในชีวิต(รวมทั้งผมเอง) เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งและฐานทรัพยากรที่มีความหลากหลายทั้งในแง่ของธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ฯลฯ ดังนั้นอินเดียจึงเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาเยือน โดยมีคำขวัญที่ใช้ดึงดูดนักท่องเที่ยวว่า "Incredible India"
จากคำขวัญดังกล่าวผมว่าก้อจริงอยากที่เค้านำเสนอแหละครับ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่น่าเชื่อและไม่เคยพบเห็นมาก่อน แต่ก็รวมทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีแหละครับ (หากใครได้ชมภาพยนต์เรื่อง Slumdog Millionaire ก็จะพอเห็นสภาพทั่วไปของอินเดียได้)
ตัวอย่างของ incredible ในทางที่ดีก็เช่น สถาปัตยกรรม และสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่อลังการของอินเดีย อย่างที่รู้จักกันดีก็ Taj Mahal หรือ ทัชมาฮาล ที่เมือง Agra อัครา หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก อีก incredible ที่เราอาจจะคาดไม่ถึงกันก็คือ เรื่องเกี่ยวกับ IT อินเดียเป็นศูนย์กลางแห่งการติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศได้ใช้อินเดียเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงการสื่อสารทางธุรกิจ เช่น การบริการหลังการขาย, การบริการด้านบัญชี, Call Center ฯลฯ (ลองหาอ่านดูได้จากหนังสือ "ใครว่าโลกกลม: The World is Flat")
ที่นี้ลองมาดู incredible ในทางลบกันบ้าง (ขอเล่าจากประสบการณ์ที่เจอ อาจดูเหมารวมไปนิด แต่ก็มาจากเรื่องจริง) ผมว่าอินเดียต้องปรับปรุงอย่างหนักในเรื่องของ Visual Aesthetics คือ เรื่องเกี่ยวกับความงามของทัศนียภาพ สภาพบ้านเมืองในอินเดียดูสกปรกเอามากๆ ขนาดตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญยังสกปรกมากๆ ไม่ต้องพูดถึงห้องน้ำ incredible สุดๆ
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าจะต้องปรับปรุงคือ Accessibility ความสามารถในการเข้าถึงเมืองหรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆของอินเดียยังถือว่าไม่ดี ขนาดอาจารย์ผมชาวอินเดียเอง แกยังบ่นเรื่องนี้ในวิชา Regional Analysis
อาจารย์แกเปรียบเทียบอินเดียกับหลายๆประเทศใน Southeast Asia เช่น สิงค์โปร์ ไทย มาเลเซีย เป็นต้น
ในอินเดียความเชื่อมโยงระหว่างเมืองต่างๆนั้นไม่สะดวกมากนัก ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินทางหนึ่งเส้นทางแล้วได้เที่ยวหลายๆที่ หรือหลายๆเมือง จึงต้องผิดหวังไปตามๆกัน
ใครที่อยากมาอินเดียก็ต้องทำใจเผื่อเอาไว้ด้วยนะครับ แต่อย่างไรก็ตามอินเดีย ก็ยังคงเป็น Incredible Country ในสายตาของผม และเชื่อว่าหากมาเยือนซักครั้งคุณจะได้พบกับเรื่องราวที่ไม่น่าเชื่ออีกมากมาย