โพสต์แนะนำ

ภูมิศาสตร์เมือง Urban Geography

ภูมิศาสตร์เมืองเป็นสาขาย่อยหนึ่งในภูมิศาสตร์มนุษย์(Human Geography) มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับเมือง(ci...

บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552

Climate of India: สภาพภูมิอากาศของอินเดีย


เนื่องด้วยตำแหน่งที่ตั้งและขนาดของประเทศที่ค่อนข้างใหญ่ ทำให้อินเดียมีลักษณะอากาศที่หลากหลายและแตกต่างกันไปตามพื้นที่(ดูจากแผนที่เขตภูมิอากาศ) ก่อนอื่น เราจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกับทำเลที่ตั้งของประเทศอินเดียเสียก่อน อินเดียตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 8°4' ถึง 37°6' เหนือ และ ลองจิจูด 68° 7' and 97° 25' ตะวันออก จากตำแหน่งนี้ทำให้อินเดียทอดตัวยาวจากเหนือจดเหนือ จากเขตใกล้เส้นศูนย์สูตร (Equator) ผ่านเส้นรุ้งที่ 23.5 องศา หรือเส้น Tropic of Cancer ไปจนถึงเหนือสุดที่เส้นรุ้งที่ 37
สภาพอากาศจากเหนือจรดใต้จึงค่อนข้างแตกต่างกันอย่างมาก

นอกจากทำเลที่ตั้งแล้วความใกล้ไกลทะเลและลมมรสุมที่พัดผ่านก็เป็นอีกปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดลักษณะอากาศของอินเดีย เขตที่อยู่ห่างไกลจากทะเลจะมีสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้ง โดยเฉพาะด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซึ่งเป็นเขตทะเลทราย (ทะเลทราย Thar) ในขณะเดียวกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านรับลมจะมีฝนตกชุกมากในฤดูมรสุม โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียที่เป็นด้านรับลมมรสุมที่พัดมากจากทะเลอาราเบียน ตัวอย่างเช่น เมืองมุมไบ ที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมถึง 868 มิลลิเมตร โดยฝนจะตกลากยาวมาตั้งแต่เดือนมิถุนาไปจนถึงกันยายน

อีกหนึ่งตัวแปรที่สำคัญที่กำหนดลักษณะอากาศของอินเดียคือ เทือกเขาหิมาลัย ที่ทอดตัวอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นตัวขวางกั้นความหนาวเย็นจากเอเชียกลางตอนใน ทำให้อินเดียอบอุ่นกว่าพื้นที่อื่นๆที่อยู่ในแนวละติจูดเดียวกัน และเทือกเขาหิมาลัยนี่เองที่ทำให้คนที่มาเที่ยวอินเดียสามารถมาดูหิมะตกได้ในฤดูหนาวและพบกับภูมิทัศน์ที่สวยงามแบบสุดๆ เมืองที่นักท่องเที่ยวชอบไปก็อย่างเช่น Shimla, Dharamsala เป็นต้น

ผู้ที่สนใจจะไปเที่ยวอินเดียและอยากรู้เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศของอินเดียสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก climate of India และ World Weather Information Service

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น